การสักยันต์
ศิลปะแต่การสักยันต์มีจุดประสงค์หลักในเรื่องของความเชื่อทาง
ศาสนาและไสยศาสตร์
จะทำให้ผู้ที่มีรูปรอยสักยันต์มีความเชื่อว่า
มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้องคุมครองตลอดเวลา และมีอนิสงฆ์
ช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากตัเอง ด้วยมีอานุภารอยสัก ต้องการ เช่น ลาภ ยศ สรรเสิญ แคล้วคลาด ปลอดภัย
อยู่ยงคงกระพัน และพ้นจากภยันอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยมีความเชื่อว่า
รูปแบบลายสักหรือยันต์แต่ละชนิดจะทำให้ผู้ที่สักยันต์มีคุณวิเศษต่าง ๆ
ที่ต่างกันออกไป และผู้ที่ได้รับการสักยันต์จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่อาจารย์
บอกไว้เกี่ยวกับข้อห้ามต่าง ๆ หลังจากการสักแล้วอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามด่า
บุพการี ห้ามลบหลู่ ครูบาอาจารย์ หรือผู้มีพระคุณ
ห้ามกินของบ้านผู้อื่น ห้ามรอดราวเสื้อผ้า ห้ามประฟฤติผิดในกาม
และให้รักษาศีล ๕ อยู่เป็นนิจ เป็นต้น
ถ้าผู้ใดผิดหลักเกณฑ์และข้อห้ามของการรักษาจะทำให้คุณวิเศษต่าง ที่อยู่ในยันต์สูญหาย
หรือที่เขาเรียกว่าของเสื่อม รอยสักยันต์แต่ละอย่างจะมีคาถา
กำกับไว้เพื่อให้สำหรับถ่องจำ เพื่อทำให้ มีความขลัง
การสัก คือ การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไป
การใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระ เครื่องหมายหรือลวดลายยันต์
ถ้าใช้หมึกเรียกว่า สักหมึก
ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่า สักน้ำมัน ส่วนคำว่า
"ยันต์" ตาม กล่าวว่ายันต์คือตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข
อักขระหรือรูปภาพที่เขียน สัก หรือแกะสลักลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น
ถือว่าเป็นของขลัง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์
เรียกเสื้อหรือผ้าเป็นต้นที่มีลวดลายเช่นนั้นว่า เสื้อยันต์ ผ้ายันต์
เรียกเช่นนั้นว่า ลงเลข ลงยันต์ เป็นต้น